เมื่ออายุมากขึ้น สิ่งที่มักจะตามมาเป็นเงาก็คงจะหนีไม่พ้นอาการป่วย โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ถ้าหากไม่มีการดูและสุขภาพให้ดีตั้งแต่ในช่วงวัยหนุ่มสาว เมื่อแก่ตัวลงก็ต้องเจอกับสารพัดโรคที่สร้างความเจ็บปวดและรำคาญใจให้อย่างแน่นอน วันนี้เราจึงมี 10 โรคคนแก่ ที่มักจะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ทุกคนได้เตรียมตัวป้องกันเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคคนแก่
โรคคนแก่ คือ โรคที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ในผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะแข็งแรงแค่ไหนก็มักจะต้องป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง จึงต้องมีการดูแลตัวเองที่ดี และหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้สามารถเจอโรคได้ทันเวลา และสามารถรักษาโรคได้ทัน
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคเมเนียส์ (Meniere’s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีการคั่งของน้ำหรือความดันในหูชั้นในที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหูชั้นในเป็นส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปหลังเยื่อแก้วหู มีส่วนสำคัญในเรื่องของระบบการทรงตัวและระบบการได้ยิน ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยการการเวียนหัว รู้สึกบ้านหมุน ไม่สามารถยืนตรง ๆ ได้ รู้สึกอยากอาเจียน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เกิดภาวะน้ำในหูชั้นในเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการขัดขวางการทำงานของระบบประสาท ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกนั่นเอง
อาการมองเห็นจุดดำลอยไปมา หรือ โรควุ้นตาเสื่อมนั้น เกิดจากการร่างกายของคนเราเกิดการเสื่อมสภาพลง วุ้นตาที่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยคงรูปลูกตาไว้ ก็ค่อย ๆ เสื่อมลง จากที่เคยมัลักษณะเป็นเจลหนืดใส ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำ เส้นใยและสารอาหารที่เคยมีก็หดตัวจนจับตัวเป็นก้อนสีขุ่น เมื่อมองท้องฟ้าหรือที่ที่มีแสงสว่างมาก ๆ ก็จะเห็นเป็นจุดสีดำลอยไปมา หรือในบางรายอาจจะเห็นเป็นเส้น เป็นใยแมงมุม หรือหยากไย่ก็ได้ แม้ว่าจะเกิดได้ทุกเพศทุกวัน แต่มักจะเกิดในผู้สูงอายุมากกว่า
สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อน คือ การที่ผนังช่องท้องเกิดความผิดปกติเนื่องจากอ่อนแรงเกินไป ซึ่งบางคนอาจจะเป็นมาตั้งแต่เกิด หรือในผู้ป่วยบางคนที่เคยผ่านผ่าตัดช่องท้องมาจนทำให้ผนังบริเวณนั้นไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ก็อาจจะทำให้เกิดอาการไส้เลื่อนได้ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการไส้เลื่อน เช่น การไอ จาม หรือการที่ต้องยกของหนัก ๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มักจะทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องมากผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวของลำไส้ได้
โรคเหน็บชานั้นเป็นโรคทางระบบประสาทชนิดหนึ่ง โดยเป็นความผิดปกติจากระบบประสาทที่ควบคุมความรู้สึก เป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรานั้นกำลังขาดสารอาหารประเภทวิตามิน B1 อยู่ สามารถเป็นได้ทุกส่วนของร่างกาย และพบได้ในทุกเพศทุกวัย สาเหตุของการเกิดโรคเหน็บชา คือ ร่างกายได้รับขาดวิตามิน B1 หรือ ไทอามีน (Thiamine) ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังเกิดจากกรรมพันธุ์ได้อีกด้วย หรือในผู้ปวยที่มีอาการป่วยเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
ถ้าหากว่าผู้สูงอายุดูไม่มีเรี่ยวแรง อาจจะต้องดูด้วยว่าเกิดจากอะไร ถ้าแค่ไม่มีแรงจะทำอะไรหนัก ๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะคนเราเมื่ออายุมากขึ้น เรี่ยวแรงก็ยิ่งลดลง แต่สิ่งที่ต้องกังวลมากเป็นพิเศษก็คือ ต้องระวังอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอาการที่มวลกล้ามเนื้อของร่างกายลดลง ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้หนักเหมือนเดิม พอมาเกิดในผู้สูงอายุ คนทั่วไปก็มักจะคิดว่าเป็นอาการปกติ แต่ถ้าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจริงก็จะยิ่งอันตราย เพราะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่แต่ก่อนเคยเป็นคนที่แข็งแรง ร่าเริง ชอบทำงาน ถ้าหากว่าแก่ตัวลงแล้วไม่สามารถทำกิจกรรมที่ชอบได้เหมือนเดิม ก็จะยิ่งรู้สึกแย่ และชอบคิดว่าตัวเองไม่มีประโยชน์ บางคนอาจจะแสดงออกมาเป็นอาการเรียกร้องความสนใจจากลูกหลานหรือคนรอบข้าง เพื่อที่จะได้ให้ทุกคนหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับตนเองเหมือนเดิม
อาการขี้ลืมในผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่คนดูแลอาจจะต้องคอยดูอาการอย่างใกล้ชิดด้วยว่าเป็นอาการหลงลืมแบบไหน เพราะถ้าหากมีอาการรุนแรงก็อาจจะทำให้กลายเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ส่วนสาเหตุของอาการหลงลืมในผู้สูงอายุนั้นเกิดจากเนื้อสมองมีการเสื่อมสลายหรือตายตามวัย หรืออาจจะเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองมีความผิดปกติ
ผู้สูงอายุมักจะประสบปัญหาการนอนไม่หลับเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากร่างกายที่เริ่มเสื่อมสภาพลง ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายที่ลดลง รวมไปถึงอาการป่วยประจำตัวที่มักจะรบกวนการพักผ่อนอยู่เป็นประจำ จึงทำให้การนอนหลับยาว ๆ เป็นเรื่องยาก มักจะมีอาการชอบตื่นตอนดึก หรือบางคนอาจจะไม่สามารถนอนรับได้เลยถ้าไม่ได้กินยา
เมื่ออายุมากขึ้น อาการหลงลืมก็จะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น วึ่งถ้าหากว่ามีอาการที่รุนแรง จากที่ขี้ลืมธรรมดาก็จะกลายเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
โดยภาวะสมองเสื่อมนั้น เกิดจากการที่สมองสูญเสียเซลล์สมองไปหลายส่วน ทำให้ความสามารถการคิดการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ค่อย ๆ ลดลง เมื่อมาถึงระยะที่รุนแรง ผู้ป่วยก็จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย
โรคต้อกระจก เป็นโรคทางตาที่มักจะพบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการที่เลนส์กระจกตาค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง อาการที่พบเจอได้บ่อย ๆ คือ ตามัว มองไม่ชัด ต่อให้ใส่แว่นก็ยังไม่ชัด มองเห็นสีต่าง ๆ แปลกไปจากเดิม เห็นภาพเป็นเงาซ้อน และมองเห็นแสงไฟกระจายเป็นแฉก ๆ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะเริ่มมีฝ้าสีขาวขุ่นบริเวณกลางรูม่านตา ทำให้การมองเห็นแย่ลง ส่วนใหญ่แพทย์จะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดต้อกระจกเพื่อช่วยให้การมองเห็นกลับมาได้