โรคเหน็บชา คือ โรคทางระบบประสาทชนิดหนึ่ง โดยเป็นความผิดปกติจากระบบประสาทที่ควบคุมความรู้สึก เนื่องจากขาดวิตามิน B1 สามารถเป็นได้ทุกส่วนของร่างกาย และพบได้ในทุกเพศทุกวัย
เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการกินอาหารที่มีประโยชน์ และต้องมีแร่ธาตุ สารอาหารต่าง ๆ ให้ครบถ้วนด้วย เพราะในแต่ละส่วนของร่างกายก็มีความต้องการแตกต่างกันออกไป ถ้าขาดสารอาหารสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป ร่างกายของเราก็จะแสดงอาการเจ็บป่วยออกมาให้เห็นได้ วึ่งถ้าเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังพอจะรักษาได้ทัน แต่ถ้ายังไม่มีการดูแลที่ดีพอ ก็อาจจะทำให้อาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นรุนแรงขึ้นมาได้ วันนี้เราเลยจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคเหน็บชา อาการที่แสดงออกว่าร่างกายของเรานั้นกำลังขาดวิตามิน B1 อยู่ จะมีวิธีการป้องกันและดูแลรักษาอย่างไรได้บ้าง ไปดูกันได้เลย
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ เหน็บชา
โรคเหน็บชานั้นเป็นโรคทางระบบประสาทชนิดหนึ่ง โดยเป็นความผิดปกติจากระบบประสาทที่ควบคุมความรู้สึก เป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรานั้นกำลังขาดสารอาหารประเภทวิตามิน B1 อยู่ สามารถเป็นได้ทุกส่วนของร่างกาย และพบได้ในทุกเพศทุกวัย เป็นโรคคนแก่เป็นกันเยอะเช่นกัน
สาเหตุของการเกิดโรคเหน็บชา เกิดจากร่างกายได้รับขาดวิตามิน B1 หรือ ไธอามีน (Thiamine) ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังเกิดจากกรรมพันธุ์ได้อีกด้วย หรือในผู้ปวยที่มีอาการป่วยเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ส่วนผู้ที่ผู้ในพื้นที่ที่ไม่อุดมสมบรูณ์ ไม่มีอาหารการกินที่อุดมไปด้วยวิตามินที่จำเป็น ก็อาจจะทำให้เกิดโรคเหน็บชาได้
อาการเหน็บชานั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ เหน็บชาในเด็ก และเหน็บชาในผู้ใหญ่ โดย
นั้นจะพบได้ในทารกช่วงอายุ 2-6 เดือน เพราะเด็กในวัยนี้สารอาหารที่ได้รับจะมาจากการกินนมแม่อย่างเดียว ถ้าแม่มีอาการขาดวิตามิน B1 ก็จะทำให้ลูกขาดตามไปด้วย
จะแบ่งออกไปเป็น 3 ประเภท คือ เหน็บชาชนิกแห้ง ที่ผู้ป่วยจะชา แต่ไม่บวม เหน็บชาชนิดเปียก ผู้ป่วยจะมีอาการบวมร่วมด้วย และ เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome ที่มักจะพบในผู้ป่วยที่มีอาการติดสุราเรื้อรัง
อาการเหน็บชาปลายนิ้วมือ เป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมความรู้สึก สำหรับการชาตามปลายนิ้วมือนั้น ถ้ามีอาการปวดแสบปวดร้อนที่กระดูกบริเวณข้อมือร่วมด้วย ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากร่างกายมีกรดยูริกสูงเกิดไป มีโอกาสเป็นโรคเกาต์ได้ การชาที่ปลายนิ้วก้อย ส่วนนี้อาจจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้มือที่ต้องงอส่วนนิ้วก้อยและเกร็งข้อศอกนานเป็นพิเศษ เช่นการถือหนังสืออ่าน การคุยโทรศัพท์นาน ๆ เป็นต้น
อาการเหน็บชาที่ปลายนิ้วมือนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป ยังไม่ถือว่าอันตรายเท่าไหร่ แต่ถ้ามีอาการชาทั้งมือลามขึ้นไปที่แขนมาจนถึงข้อศอก ก็ต้องรีบไปรักษาให้เร็วที่สุด เพราะเป็นสัญญาณเตือนของโรคเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณกระดูกไหปลาร้าที่ค่อนข้างอันตรายมาก ๆ
อาการก็จะคล้ายกับเหน็บชาที่ปลายนิ้วมือ และเป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนควบคุมความรู้สึกเช่นเดียวกัน ถ้ามีอาการทั่วไป ยังไม่รุนแรงมาก ก็สามารถกินอาหารที่มีวิตามิน B1 เพิ่มเข้าไปให้มากเป็นพิเศษ เพราะจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้อาการเหน็บชาบรรเทาลงได้
ถ้ายังไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือมีอาการหนักกว่าเดิมจนส่งผงกระทบต่อการเดินและการใช้ชีวิต
หลัก ๆ แล้ว อาการเหน็บชามักจะเกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามิน B1 ซึ่งแหล่งอาหารที่อุมดมไปด้วยวิตามิน B1 ก็คือ ธัญพืชที่ยังไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ถั่ว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวซ้อมมือ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง นอกจากนี้ยังมี มะเขือเทศ โยเกิร์ต เนื้อหมู นม ไข่แดง ส้ม เป็นต้น
แต่สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ จะมีอาหารบางชนิดที่มีสารทำลายวิตามิน B1 อยู่ ต่อให้กินเข้าไปมากเท่าไหร่ ก็ไม่ช่วยอะไร เช่น เนื้อสัตว์ดิบ ๆ ที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก ประเภทเนื้อหมูดิบ กุ้งดิบ เนื้อวัวดิบ ปลาร้า หมากพลู น้ำปลา หอยประเภทต่าง ๆ ทั้งหอยลาย หอยกาบ หอยแมลงภู่ เป็นต้น ถ้าหากว่าร่างกายกำลังต้องการวิตามิน B1 มาก ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ไปก่อน
การขาดวิตามิน B1 นั้น นอกจากจะทำให้เกิดอาการเหน็บชาแล้ว ยังส่งผลต่อร่างกายในส่วนอื่น ๆ อีกด้วย เช่น มีอาการท้องอืด ท้องผูก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง เหนื่อยง่ายมากเป็นพิเศษ น้ำหนักลด อารมณ์แปรปรวน ปวดน่องและเป็นตะคริวบ่อย ปัสสาวะน้อยลง ถ้ามีอาการรุนแรงอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้
ถ้าอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่อาการยังไม่รุนแรง แพทย์จะให้ผู้ป่วยใช้วิตามิน B1 แบบชนิดเม็ดกินเพิ่มเติมเป็นอาหารเสริมเข้าไป แต่ถ้ามีอาการที่รุนแรง กินแบบเม็ดอาจจะไม่ได้ผล ก็จะให้เป็นวิตามิน B1 ผ่านทางหลอดเลือดดำ หรืออาจจะใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นการรักษาที่ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและดุลยพินิจของแพทย์ นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อทดสอบการดูดซึมวิตามิน B1 ของร่างกายด้วย ว่าปกติหรือไม่ ถ้ามีปัญหาจะได้หาวิธีรักษาอื่น ๆ ต่อไป