ถ้าจะพูดถึงโรคที่ทำให้คุณผู้ชายหลายคนต้องกังวลใจ โรคไส้เลื่อนก็คงจะเป็นหนึ่งในนั้น เพราะเป็นโรคที่มักจะได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก และเป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อให้ทุกคนได้รู้วิธีการดูแลตัวเอง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ไม่พึงประสงค์ได้ วันนี้เราจึงมีข้อมูลของโรคไส้เลื่อนที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุ อาการ วิธีป้องกันและวิธีรักษามาฝากกัน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ไส้เลื่อน
โรคไส้เลื่อน คือ อาการที่อวัยวะภายในบางส่วนได้เคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิม ผ่านบริเวณต่าง ๆ ที่เป็นรู กล้ามเนื้อหรือพังผืดที่ไม่ค่อยแข็งแรง จนไปอยู่ที่ตำแหน่งอื่น ซึ่งอวัยวะที่มักจะเกิดอาการไส้เลื่อนได้บ่อย ๆ ก็คือลำไส้เล็ก เมื่อเกิดการเคลื่อนที่ไปแล้ว ก็มักจะมีลักษณะเป็นก้อนตุง ๆ แบบที่หลายคนเคยเห็น โรคไส้เลื่อนนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน โดยจะแบ่งประเภทตามตำแหน่งของอวัยวะที่เคลื่อนไปอยู่
สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อน คือ การที่ผนังช่องท้องเกิดความผิดปกติเนื่องจากอ่อนแรงเกินไป ซึ่งบางคนอาจจะเป็นมาตั้งแต่เกิด หรือในผู้ป่วยบางคนที่เคยผ่านผ่าตัดช่องท้องมาจนทำให้ผนังบริเวณนั้นไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ก็อาจจะทำให้เกิดอาการไส้เลื่อนได้ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการไส้เลื่อน เช่น การไอ จาม หรือการที่ต้องยกของหนัก ๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มักจะทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องมากผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวของลำไส้ได้
เชื่อว่าหลายคนน่าจะต้องเคยได้ยินความเชื่อที่ว่าถ้าไม่ใส่กางเกงในจะเป็นไส้เลื่อนก็มาอย่างแน่นอน ซึ่งความจริงแล้ว สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนนั้นไม่เกี่ยวกับการใส่กางเกงในเลย อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น การเคลื่อนที่ของลำไส้หรืออวัยะภายในนั้นเกิดจากความดันในช่องท้องที่มากกว่าในช่วงเวลาปกติ จึงทำให้เกิดอาการไส้เลื่อนหรืออวัยวะอื่น ๆ เคลื่อนที่ได้
โรคไส้เลื่อนนั้นพบได้มากในผู้ชาย โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการไส้เลื่อนที่พบมักจะเป็นไส้เลื่อนลงอัณฑะ หรือที่หลายคนเรียกว่าไส้เลื่อนลงไข่ ซึ่งหลายครั้งก็จะเกิดจากการที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต นอกจากนี้ยังมีอาการไส้เลื่อนขาหนีบที่พบได้บ่อยเช่นเดียวกัน โดยอาการของไส้เลื่อนขาหนีบนั้นจะพบว่ามีไส้ไหลออกมาอยู่นอกช่องท้อง ลักษณะเป็นก้อนนุ่มนิ่มอยู่ตรงบริเวณหัวหน่าว เมื่อยืนหรือเดินจะเห็นได้อย่างชัดเจน
สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อที่หน้าท้องมีรูรั่วและไม่แข็งแรง เมื่อเกิดแรงดันในช่องท้องสูงขึ้น ก็จะทำให้ลำไส้ไหลออกมา ซึ่งพฤติกรรมที่มีจะทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้แก่ การถ่ายอุจจาระ การไอ จาม การยกของหนัก และการออกกำลังกายที่หนักหน่วง โดยเฉพาะคนที่เข้ายิมเป็นประจำ และมีการใช้แรงที่หน้าท้องมากเป็นพิเศษ ส่งผลให้เกิดแรงดันที่ขาหนีบ พฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการไส้เลื่อนได้
เป็นอีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่หลายคนมักจะไม่รู้ นั่นก็คือความจริงแล้วผู้หญิงก็สามารถเป็นโรคไส้เลื่อนได้เช่นกัน ไม่ได้เป็นเฉพาะในผู้ชายเท่านั้น แต่จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ ไส้เลื่อนในผู้ชายจะมีก้อนลำไส้ที่เลื่อนลงมาอยู่บริเวณขาหนีบ ส่วนไส้เลื่อนในผู้หญิงนั้น ลำไส้ที่เลื่อออกมาจะมารวมเป็นก้อนแข็ง ๆ อยู่ที่บริเวณข้างอวัยวะเพศ นอกจากนี้ยังมีการพบไส้เลื่อนที่สะดือ และไส้เลื่อนที่เกิดหลังจากการผ่าตัดอีกด้วย ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคนั้นก็ไม่ต่างจากกรเป็นไส้เลื่อนของผู้ชาย
อาการของโรคไส้เลื่อนนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือระดับปกติและระดับรุนแรง โดยระดับปกตินั้น จะอยู่ในอาการเริ่มต้นของการเป็นไส้เลื่อน อาการที่มักจะพบ คือ มีก้อนตุง ๆ นูนออกมา ตามบริเวณต่าง ๆ ที่มีช่องทางให้ออก ซึ่งเจ้าก้อนนี้จะสามารถเลื่อนเข้า-ออกได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการปวด แต่บางรายก็ไม่มีอาการอะไร
ส่วนระดับรุนแรงนั้น อาการภายนอกที่พบจะเหมือนกับระดับปกติเลย แต่จะมีความรุนแรงของอาการเพิ่มมากขึ้น โดยอาจจะมีอาการลำไส้อุดตันหรือมีอากรอักเสบที่ลำไส้เกิดขึ้นร่วมด้วย ผู้ป่วยมักจะรู้สึกปวดในช่องท้อง ตัวลำไส้ที่เลื่อนออกมาก็ไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ จึงต้องรีบรักษาก่อนที่จะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือเกิดอาการสำไส้ขาดได้
การรักษาโรคไส้เลื่อนนั้นมักจะใช้วิธีการผ่าตัด เพราะเป็นวิธีที่สามารถจัดการกับโรคนี้ได้ทันที เพราะในบางกรณีก็มีอาการที่รุนแรงจนไม่สามารถรอช้าได้แล้ว โดยดูได้จากสภาพของก้อนนูนที่ยื่นออกมา สำหรับการผ่าตัดนั้นจะมีอยู่ 2 วิธี คือ
ที่จะเป็นการผ่าเพื่อดันอวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่เคลื่อนที่ออกไปกลับคืนสู่ที่เดิมของตัวเอง และใช้การเย็บเพื่อซ่อมแซมส่วนที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรงตามปกติ และเพื่อเพิ่มความมั่นใจ จะมีการเย็บซ่อมในจุดนั้นๆ ด้วยวัสดุสังเคราะห์ที่คล้ายกับตาข่าย ทำให้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงได้มากขึ้น
วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องทนกับแผลผ่าตัดที่ใหญ่โตเหมือนการผ่าแบบเปิดช่องท้อง ซึ่งเป็นแทคโนโลยีการผ่าตัดที่ใช้แขนกลช่วยผ่าตัดด้วยระบบดาวินชี เข้าไปซ่อมแซมอวัยวะในส่วนที่เลื่อน ซึ่งข้อดีของการผ่าตัดแบบผ่านกล้องที่ทำให้ผู้ป่วยมีแผลขนาดเล็กแล้ว ก็จะส่งผลให้อาการบาดเจ็บน้อยลง พักฟื้นได้เร็วยิ่งขึ้น แถมยังช่วยลดโอกาสที่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หรือภาวะการเสียเลือดที่มากเกินไปอีกด้วย