ตาปลา เกิดจากการที่ผิวหนังของเรานั้นหนาด้านแข็งขึ้น เพราะเกิดการเสียดสีบ่อย จนทำให้ผิวหนังค่อยแข็งตัวขึ้น โดยอวัยวะที่มักจะเกิดตาปลาได้ง่ายก็คือเท้านั่นเอง
การเป็นตาปลาที่เท้า กลายเป็นเรื่องที่สร้างความรำคาญใจให้กับหลายคนเป็นอย่างมาก นอกจากจะทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าด้านแข็งแล้ว ยังสร้างความเจ็บปวด เป็นอุปสรรค์ในการเดินอีกด้วย บางครั้งอยากใส่รองเท้าสวย ๆ ก็ไม่ได้ เพราะตาปลาเป็นเหตุ วันนี้เราเลยมีวิธีป้องกันและรักษาอาการตาปลาที่เกิดขึ้นกับเท้าของเรามาฝากกัน ถึงเวลาบอกลาความด้าน ความแข็งของตาปลากันได้แล้ว
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ตาปลา
ตาปลานั้นเกิดจากการที่ผิวหนังของเรานั้นเกิดการเสียดสีบ่อย ๆ ทำให้ผิวหนังค่อย ๆ แข็งตัวขึ้น เมื่อสะสมไปเป็นเวลานานก็จะทำให้ผิวบริเวณนั้นมีความด้านแข็งขึ้น อวัยวะที่มักจะเกิดตาปลาได้ง่ายก็คือเท้านั่นเอง เพราะเท้าเป็นส่วนที่ได้รับการเสียดสีอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งการใส่รองเท้า การเดิน การใช้ชีวิตในแต่ละวันมักจะมีส่วนทำให้เท้าได้รับการเสียดสีมากกว่าอวัยวะส่วนอื่น
การรักษาตาปลานั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะรักษาด้วยตัว ไม่ว่าจะเป็นการตัดขูหนังบริเวณที่แข็งและด้านออก หรือการให้ยาทาเพื่อบำรุงผิวให้กลับมานุ่มชุ่มชื่นเหมือนเดิม ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน แต่ตาปลาจะเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเมื่อเกิดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือคนที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด ถ้าหากว่าคุณมีความเสี่ยง เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเหล่านี้ ก็ไม่ควรรักษาด้วยตัวเอง
โดยเฉพาะการตัดหรือขูดออกเอง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุด เพราะการตัดหนังที่แข็งและด้านด้วยตัวเอง มีโอกาสที่จะเกิดแผลได้ง่าย จึงเป็นอันตราย อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนของโรคได้ และถ้าใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด ก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อ ซึ่งเป็นอันตรายมาก ๆ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยใช้ ยาละลายเคราติน เช่น salicylic acid ที่มีคุณสมบัติช่วยทำให้ตาปลามีขนาดเล็กลงได้ หรือถ้าเอาออกไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถเลือกใช้วิธียิงเลเวอร์เพื่อกำจัดตาปลาได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีอาการรุนแรง และอยากกำจัดตาปลาแบบรวดเร็ว
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าตาปลาที่เท้า เป็นอาการที่พบได้บ่อยว่าตาปลาที่อื่น ๆ บางครั้งอาจจะมีคนสับสนกับหูด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคผิวหนังที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน แต่ตาปลาที่เท้านั้นเกิดจากการเสียดสีของเท้ากับรองเท้า หรือพฤติกรรมเวลาเดินจนทำให้เกิดการกดทับและเสียดสี จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดอาการแข็งและด้านขึ้นมาได้
ถ้าหากเอามีดมาเฉือนตรงบริเวณหัวตาปลา จะไม่พบจุดเลือดออก ซึ่งแต่ต่างกับหูดที่จะมีจุดเลือดออกมา และตาปลาเกิดจากการเสียดสี ส่วนหูดเกินจากการติดเชื้อไวรัส แต่ตาปลาก็ยังไม่ถือว่าเป็นโรคผิวหนังที่อันตราย เพราะจะมีอาการเพียงแค่รู้สึกเจ็บเล็กน้อยและแข็ง ๆ บริเวณตาปลา
สาเหตุของการเกิดตาปลาที่มือก็คล้ายกับการเกิดตาปลาที่เท้า เพราะเป็นจุดที่ได้รับการเสียดสีบ่อย ๆ เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานฝีมือ งานช่างต่าง ๆ ที่ต้องใช้แรงจากมือมากเป็นพิเศษ ก็มักจะเป็นตาปลาที่มือได้ง่าย ลักษณะของตาปลาที่มือนั้นจะเป็นตุ่มแข็ง ๆ ขนาดไม่ใหญ่มาก มีผิวสัมผัสแห้งกร้าน มีขุย และถ้ารุรแรงจะมีอาการเจ็บร่วมด้วย แม้ว่าจะไม่ใช่อาการที่รุนแรง ก็สร้างความลำบากต่อผู้ที่เป็นได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสวยงามของมือได้อีกด้วย
ถ้าเป็นตาปลาที่ไม่รุนแรง สามารถปล่อยไว้ให้หายเองได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วตาปลามักจะสร้างความรำคาญใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวด ผิวสัมผัสที่แข็ง ด้าน ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ นอกจากนี้ยังทำให้รู้สึกไม่มั่นใจที่จะโชว์ส่วนนั้น ๆ ด้วย จึงเป็นเหตุผลที่หลายคนมักจะเลือกหาวิธีกำจัดตาปลาออกให้เร็วที่สุดนั่นเอง
การรักษาตาปลาด้วยยาทาก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนมักจะใช้กัน เพราะง่ายและรวดเร็ว โดยจะมียากัดตาปลาหรือหูด ที่เป็นยาเฉพาะทางของโรคเหล่านี้ คุณสามารถนำมาทาบริเวณที่เกิดตาปลาได้ ใช้เพียงวันละ 1-2 ครั้ง หรือจนกว่าตาปลาจะหลุดออกไป
สิ่งที่ควรทำก่อนการทายาก็คือควรแช่ผิวหนังบริเวณที่เป็นตาปลาด้วยน้ำอุ่นก่อน 15-20 นาที เพื่อทำให้ผิวนุ่มขึ้น และใช้วาสลินหรือออยล์มาทารอบ ๆ ผิวที่เป็นตาปลา เพื่อป้องกันไม่ให้ยากัดผิวหนังบริเวณรอบ ๆ จากนั้นค่อยทายากัดตาปลาลงไปก็เป็นอันเรียบร้อย
นอกจากยาทาที่เป็นยากัดตาปลาโดยเฉพาะแล้ว คุณยังสามารถนำยาแอสไพลินมาบดเป็นผง แล้วนำมาผสมกับน้ำมะนาวและน้ำเปล่า จากนั้นนำมาป้ายไว้ตรงตาปลา แล้วใช้ผ้าอุ่น ๆ พันเอาไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นนำหินมาขัดออก ก็จะช่วยกำจัดตาปลาได้เช่นกัน