โรคผิวหนังที่มักจะเกิดขึ้นได้กับทุกคนนั้น มีทั้งแบบโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ แต่ไม่ว่าจะเป็นโรคแบบไหน ก็ต้องมีการป้องกันและรักษาเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้อาการลุกลามจนรักษาได้ยากหรือเป็นอันรายต่อร่างกาย เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับโรคผิวหนังกันมากขึ้น วันนี้เราเลยมีข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคหูดข้าวสุก โรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้มาฝากกัน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หูดข้าวสุก
หูดข้าวสุก หรือ Molluscum Contagiosum เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อและแพร่กระจายได้ โดยการสัมผัสโดยตรงผ่านทางผิวหนัง หรือการใช้ของร่วมกันก็สามารถติดเชื้อได้แล้ว ถึงแม้ว่าจะพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเด็กอายุตั้งแต่ 1-10 ปี ด้วยความที่หูดข้าวสุกจะมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ นูนออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลม มีสีเนื้อหรือสีขาวขุ่น จึงค่อนข้างเห็นได้ยาก ผู้ปกครองควรหมั่นตรวจดูร่างกายของบุตรหลานอยู่เป็นประจำ โดยลักษณะเด่นอื่น ๆ ของหูดข้าวสุก คือ เป็นตุ่มนูนค่อนข้างแข็ง อาจจะมีรอยบุ๋มตรงกลาง บางครั้งอาจจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ถ้าสะกิดเอาตุ่มออกจะมี่เนื้อสีขาวคล้ายข้าวสุก จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อนั่นเอง
อาการของโรคหูดข้าวสุกนั้นจะเริ่มต้นจากการมีจุดแดง ๆ ขึ้นตามผิวหนัง จากนั้นก็จะค่อย ๆ พัฒนามาเป็นตุ่มที่เริ่มแข็งขึ้น สีก็เปลี่ยนจากาสีแดงมาเป็นสีขาวขุ่น ดูคล้ายกับหัวสิว แต่จะไม่มีการอักเสบ เมื่อบีบออกมา ก็จะได้เป็นน้ำข้น ๆ สีขาวขุ่น บางครั้งก็จะขึ้นเป็นกลุ่มรวมกัน หรืออาจจะขึ้นเป็นเส้นแนวยาวก็ได้
หูดข้าวสุก นั้นเกิดมาจากเชื้อไวรัส Molluscum Contagiosum ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่ม poxviridae มีผลต่อผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น ทำให้ผิวหนังติดเชื้อแค่เพียงภายนอก และเนื่องจากเป็นผลจากเชื้อไวรัส โดรคผิวหนังชนิดนี้จึงสามารถติดต่อแพร่กระจายผ่านการสัมผัสได้ และยังสามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธุ์ได้ด้วย
โอกาสการเป็นโรคหูดข้าวสุกในเด็กจะมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กยังมีภูมิต้านทานที่ไม่แข็งแรง เมื่อมีการสัมผัสโดยตรงก็สามารถติดได้ง่าย และอีกปัจจัยก็คือ เด็ก ๆ มักจะอยู่รวมกันในโรงเรียนหรือในสถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งมีความแออัดและดูแลได้ยาก จึงมีเด็กเป็นโรคหูดข้าวสุกกันเยอะนั่นเอง
วิธีการรักษาหูดข้าวสุกนั้นสามารถปรึกษากับแพทย์เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่มักจะใช้เป็นประจำก็คือ การจี้ทำลายโรคด้วยความเย็น โดยยการใช้ไนโตรเจนเหลวมาจี้บริเวณหู ทำให้เกิดเป็นรอยน้ำแข็งขึ้นรอบ ๆ หูด จากนั้นหูดก็จะค่อย ๆ หลุดออกมาเอง จากจะต้องทำหลายครั้งถึงจะเห็นผล อีกวิธีหนึ่งก็คือ การขูดหรือใช้สิ่งของปลายแหลมบ่งเอาเนื้อหูดข้าวสุกออกมา อาจจะรู้สึกเจ็บนิดหน่อย แต่ก็สามารถกำจัดได้เร็ว ส่วนวิธีสุดท้ายคือ การใช้ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดทาลงบนหูดข้าวสุก เพื่อทำลายเนื้อหูดและหูดจะหลุดออกมาเอง ก่อนใช้จะต้องมั่นใจด้ว่าผิวของเรานั้นไม่มีอาการแพ้ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพื่อความปลอดภัยของคุณเอง
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าหูดข้าวสุกนั้นเกิดจากไวรัส Molluscum Contagiosum ดังนั้น เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อก็จะมีระยะฝักตัวประมาน 3-12 สัปดาห์ แล้วแต่ร่างกายของแต่ละคน
โดยปกติแล้วหูดข้าวสุกสามารถหายได้เอง ถ้าไม่ได้ทำการรักษาจริงจัง ก็สามารถหายเองได้ภายในไม่กี่เดือน ถ้าคุณไม่ได้รู้สึกว่าเดือดร้อนหรือเป็นอันตรายใด ๆ ก็สามารถปล่อยเอาไว้จนกว่าจะหายได้ แต่สิ่งที่ต้องคิดถึงก็คือ โรคหูดข้าวสุกเป็นโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ ถ้าจะต้องรอหลายเดือนเพื่อให้หูดหายไปเอง ก็ควรที่จะไปหาหมอเพื่อรักษาจะดีต่อตัวคุณเอง และคนรอบข้างอย่างแน่นอน เพราะถึงแม้ว่าอาการของหูดหงอนไก่จะไม่รุนแรง แต่ถ้ามีคนที่ภูมิตุ้มกันอ่อนแอมาติดก็อาจจะสร้างอันตรายให้กับร่างกายได้
นอกจากนี้ ยังควรระวังอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นระหว่างการเป็นหูดหงอนไก่ด้วย โดยเฉพาะถ้ามีการแกะ เกาตุ่มหูดจนเป็นแผล ก็อาจจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ยิ่งในผู้ป่วยที่มีโรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นประจำอยู่แล้ว จะต้องระวังให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะตุ่มหูดข้าวสุกอาจจะลุกลามไปทั่ว ถ้าหากว่าขึ้นที่ตา ก็อาจจะทำให้เกิดอาการเยื่อตาอักเสบได้
เนื่องจากเป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง เพื่อการป้องกันอย่างสูงสุด ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ระมัดระวังการสัมผัสกัน พยายามทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเข้าไว้ เพื่อให้สามารถสู้กับไวรัสตัวร้ายได้ และถ้าติดขึ้นมา ก็สามารถรักษาให้หายได้อย่างรวดเร็ว หมั่นทำความสะอาด ล้างมือบ่อย ๆ วิธีการเหล่านี้ นอกจากจะช่วยป้องกันโรคหูดข้าวสุกได้แล้ว ก็ยังสามารถป้องกันเชื้อโรคชนิดอื่น ๆ ได้อีกด้วย ส่วนผู้ที่กำลังเป็นหูดหงอนไก่อยู่นั้น ก็ต้องดูแลความสะอาดของตัวเองให้ดี ไม่พาตัวเองไปอยู่ในที่ ๆ ต้องสัมผัสกับผู้คนเยอะ ๆ เพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นนั่นเอง