เมื่อกำลังจะก้าวไปสู่การใช้ชีวิตคู่ สิ่งที่ว่าที่เจ้าบ่าวและว่าที่เจ้าสาวไม่ควรมองข้ามคือการวางแผนชีวิตด้วยการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพราะจะช่วยให้คู่รักมีความมั่นใจและมีความปลอดภัยในด้านสุขภาพ ความสมบูรณ์ของร่างกาย การคัดกรองโรคเพื่อไม่ให้เป็นโรคติดต่อ และเพื่อไม่ให้ถ่ายทอดไปยังลูกน้อยในอนาคตได้อีกด้วย เพราะโรคบางโรคอาจไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น จะทราบได้ก็ต่อเมื่อตรวจสุขภาพเท่านั้นและควรรับการตรวจกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ทราบผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด
เพราะฉะนั้นการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานจึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าร่างกายเรา รวมไปถึงคนรักของเรามีสุขภาพเป็นอย่างไรกันบ้าง พร้อมที่จะมีบุตรหรือไม่ และการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานจะต้องตรวจอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลและคำแนะนำดี ๆ มาฝากกันค่ะ
รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน สามารถช่วยลดโอกาสที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนที่เรารักได้ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อที่ผ่านทางเลือด ซึ่งในบางโรคจะไม่มีอาการแสดงเลย กว่าจะรู้ตัวก็อาจนำไปสู่บุตรที่อยู่ในครรภ์ หรืออาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ดังนั้นเพื่อลดการเกิดการติดเชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือเลือด จึงไม่ควรมองข้ามการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
การตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรม (Genetic disorder) เนื่องจากการถ่ายทอดโรคสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากรุ่นสู่รุ่น หากพ่อหรือแม่เป็นลูกน้อยก็มีโอกาสที่สูงเช่นกัน ยกตัวอย่างโรคดังนี้
- ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
- โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
- โรคตาบอดสี (Color blindness)
- โรคพร่องเอนไซม์ G6PD.
- โรคลูคิเมีย (Leukemia) หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- โรคซีสติกไฟโบรซีส (Cystic fibrosis)
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อการเตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูก ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ และลดความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม เนื่องจากสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ทางสายเลือด
การตรวจเพื่อลดความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ ลดการเกิดภาวะแท้ง โดยผู้หญิงอาจจะที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ต้องได้รับการตรวจเพื่อประเมินและวางแผนการใช้ชีวิตอย่างเมาะสม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ เป็นต้น
โรคอะไรบ้างที่สามารแพร่ไปสู่ลูกหรือคู่รักของคุณได้ ?
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Diseases : STDs)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ โรคที่ติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ที่สามารถนำไปสู่คู่รักเราได้ ติดต่อจากคนสู่คนผ่านน้ำอสุจิ เลือด น้ำลายหรือของเหลวในร่างกาย สามารถเป็นได้ทั้งเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงปรสิต เช่น
- หนองใน (Gonorrhea) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยในบางรายอาจไม่แสดงอาการ ทำให้เกิดการติดต่อได้ง่าย และโรคนี้ยังส่งต่อไปยังทารกได้อีกด้วย
- หนองในเทียม (Chlamydia) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่สามารถส่งต่อเชื้อไปยังทารกได้อีกด้วยเช่นเดียวกับหนองในแท้
- การติดเชื้อ HIV เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อจะสามารถเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนเกิดเป็น AIDS ได้ และแพร่ไปยังทารกในครรภ์และผ่านน้ำนมแม่อีกด้วย
- ซิฟิลิส (Syphilis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดแผลผื่นบริเวณผิวหนังซึ่งแผลนี้ทำให้สามารถแพร่เชื้อ HIV ได้ง่ายขึ้น บางรายอาจเสียชีวิต
- ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus)เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้
- โลน (Pubic lice) เป็นปรสิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บริเวณหัวหน่าวและอวัยวะเพศ สามารถแพร่กระจายจากการสัมผัสโดยตรงผ่านผ้า เช่น เช็ดตัว ผ้าปูเตียง
- พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว สามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
โรคทางพันธุกรรม (Genetic Disorders)
โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่ส่งต่อจากพ่อหรือแม่ที่เป็นพาหะ มาสู่ยังลูกได้ โดยเป็นความผิดปกติที่อยู่ในยีนของพ่อหรือแม่ ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ ยกตัวอย่าง เช่น
- โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เกิดจากการสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทำให้มีอาการซีด เหนื่อยง่าย หน้ามืดเป็นลมบ่อย
- ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) มีลักษณะใบหน้าที่เฉพาะ และมีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วย ซึ่งความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดที่ถ่ายทอดมาสู่ลูก
- โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) เรียกอีกอย่างว่า โรคเลือดไหลไม่หยุด มีการฟกช้ำง่าย หากมีแผลเลือดจะหยุดไหลค่อนข้างยาก อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
- โรคตาบอดสี (Color blindness) การมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจนหรือผิดเพี้ยนไปจากผู้มีสายตาปกติ โดยไม่สามารถมองเห็น สีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงินได้ชัดเจน
ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานต้องตรวจอะไรบ้าง
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของฝ่ายชาย มีดังนี้
- ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Exam)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
- ตรวจหาหมู่เลือด และความเข้ากันได้ของเลือด (ABO and Rh Grouping)
- ตรวจหาโรคทางพันธุกรรม ธาลัสซิเมีย (Hb Typing)
- ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส (VDRL)
- ตรวจหาการติดเชื้อ HIV หรือ เชื้อเอดส์ (Anti HIV)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีและซี (HBs Ag/HCV)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Anti HBc)
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานของฝ่ายหญิง มีดังนี้
- การตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์อย่างละเอียด (Physical Examination by OB-GYN)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
- การตรวจหมู่เลือดและความเข้ากันได้ของเลือด (ABO and Rh Grouping)
- ตรวจหาโรคทางพันธุกรรม ธาลัสซิเมีย (HBTyping)
- ตรวจการหาเชื้อซิฟิลิส (VDRL)
- ตรวจหาการติดเชื้อ เอช ไอ วี หรือ เชื้อเอดส์ (Anti HIV)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีและซี (HBs Ag/HCV)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti-HBc)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IgG)
คู่ที่แต่งงานแล้ว ตรวจได้มั้ย ?
สำหรับคู่รักที่แต่งงานแล้วก็ยงสามารถตรวจได้เช่นกันค่ะ ใช้ระยะเวลาในการตรวจไม่นาน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่เพื่อชีวิตรักที่ดีแบบไร้โรค แนะนำว่าควรต้องตรวจเพื่อค้นหาโรคติดต่อ เนื่องจากการเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถจะคาดเดาได้ล่วงหน้า และไม่ควรวางใจ ในบางรายแทบไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นเลย ดังนั้นเพื่อค้นหาโรค ภาวะผิดปกติก่อนแสดงการ ยังเพื่อช่วยลดกระทบจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ ดังนั้นจึงควรมองเห็นถึงความสำคัญ และไม่ควรมองข้ามการตรวจสุขภาพนี้