เมื่ออายุเริ่มเพิ่มมากขึ้น ปัญหาหรืออาการป่วยต่าง ๆ ในร่างกายก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหนึ่งปัญหาที่มักจะมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้นก็คือปัญหาที่เกี่ยวกับข้อต่อและกระดูก อย่างเช่นปัญหาไหล่ติด เพราะยิ่งนานวันก็ยิ่งเสื่อมสภาพลง สิ่งที่ทำได้ก็คือต้องมีการเตรียมความพร้อมและบำรุงดูแลรักษาให้ดี เพื่อให้อาการที่รุนแรงนั้นไม่เกิดขึ้น
ปัญหาไหล่ติด ขยับไม่ได้ คือ ปัญหาที่เกิดจากข้อไหล่ได้รับการบาดเจ็บ หรือมีการใช้งานที่ไม่ถูกวิธี เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับกระดูกและข้อต่อที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก เพราะจะทำให้การใช้งานในชีวิตประจำวันมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับสิ่งของ การใส่เสื้อผ้า การทำงานต่าง ๆ เมื่อเกิดอาการติดขัดที่หัวไหล่ การใช้งานทั้งแขนและมือก็จะติดขัดตามไปด้วย
เมื่อเกิดอาการไหล่ติด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าไม่สามารถขยับหรือยกแขนขึ้นได้สุด ถ้าฝืนยกขึ้นก็จะรู้สึกเจ็บปวด ไม่ว่าจะยกแขนในทิศทางไหนก็ไม่สามารถยกได้เต็มที่ โดยอาการของโรคไหล่ติดนั้นจะเป็นออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะปวด ในระยะนี้เมื่อขยับแขนก็จะรู้สึกปวดขึ้นมาทันที แม้จะเป็นระยะเริ่มต้น แต่ก็สามารถสร้างความลำบากและความเจ็บปวดให้ไม่น้อย ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันเริ่มมีปัญหา ระยะอาการปวดนี้ถ้าไม่มีการรักษาที่ถูกวิธีก็จะมีอาการอยู่ประมาณ 2-9 เดือน
ระยะข้อไหล่ติด เมื่อคนเรามีอาการเจ็บปวดทุกครั้งที่ขยับแขน ร่างกายก็จะรู้ว่าต้องขยับน้องลง ซึ่งในระยะนี้อาการเจ็บที่สะสมมาจะค่อย ๆ เพิ่มอาการปวดตึงที่บริเวณไหล่มากขึ้น โดยเฉพาะตอนที่ขยับไหล่จนเกือบจะสุด จะรู้สึกตึงมาเป็นพิเศษ ซึ่งอาการปวดเหล่านี้อาจจะกินเวลานานถึง 1 เลยก็เป็นได้
ระยะฟื้นคืนตัว โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายของคนเรานั้นมักจะมีการรักษาตัวเองอยู่ตลอด ดังนั้น เมื่อมีการเจ็บปวดในระยะข้อไหล่ติดมาสักพักแล้ว อาการต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ เข้าสู่ระยะฟื้นคืนตัว ส่วนระยะเวลาก็จะขึ้นอยู่กับการรักษาและดูแลตัวเอง โดยส่วนมากจะให้เวลาอยู่ที่ 1-3 ปี
สาเหตุของการเกิดอาการไหล่ติดนั้นเกิดจากการที่เส้นเอ็นหุ้มหัวไหล่เกิดการอีกเสบ ทำให้เกิดการบวมแดงขึ้น และมีการยึดติดจากการสร้างเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้ข้อไหล่ของเรานั้นขยับได้น้อยลง และเมื่อขยับก็จะรู้สึกเจ็บปวด นอกจากนี้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ปัญหากระดูกงอกขึ้นภายในหัวไหล่ หรือปัญหาเส้นเอ็นที่หัวไหล่ฉีกขาด ก็เป็นสาเหตุของอาการไหล่ติดได้
อาการไหล่ติดนั้นสามารถปล่อยให้หายเองได้ ร่างกายจะค่อย ๆ ฟื้นฟูตัวเองจนสามารถกลับมาให้งานได้ปกติ แต่ก็ค่อนข้างใช้เวลานาน และถ้ายังมีการใช้งานไหล่อย่างหนักอยู่ตลอด อาการก็อาจจะแย่ลงได้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เมื่อเกิดอาการขึ้นในระยะแรก สิ่งที่ควรทำที่สุดก็คือการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้หัวไหล่บาดเจ็บ หรืออาจจะต้องงดใช้งานไปก่อน เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น
อาการไหล่ติด เบื้องต้นสามารถแก้ไขได้โดยการใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดก่อน ซึ่งมีทั้งยากิน ยาทา และการฉีดยา ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วย แต่การใช้ยามักจะช่วยบรรเทาอาการได้เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ผู้ป่วยอาจจะต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยให้อาการไหล่ติดดีขึ้น ซึ่งควรทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำเมื่อทำร่วมกับการออกกำลังกาย อาการเจ็บที่บริเวณก็จะหายได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าสุดท้ายแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องใช้การผ่าตัดเข้ามาช่วยอีกทาง เป็นวิธีที่ต้องปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกที
การทำกายภาพบำบัดเพื่อแก้อาการไหล่ติดนั้น จะมีท่าง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน คือ ท่าแกว่งแขนแบบลูกตุ้มนาฬิกา โดยยืนหันข้างให้โต๊ะ ใช้แขนข้างที่ปกติจับโต๊ะเอาไว้ แกว่งแขนข้างที่ไหล่ติดเป็นรูปวงกลมเหมือนลูกตุ้มนาฬิกาเบา ๆ จะช่วยให้ไหล่สามารถขยับได้มากขึ้น
อีกท่าที่ทำได้ง่าย ๆ คือ ท่ายกไม้ หาไม้หรืออุปกรณ์เป็นแท่งยาว ๆ น้ำหนักเบามาถือไว้ตรงปลายของทั้ง 2 ข้าง ค่อย ๆ ยกขึ้น – ลง เหนือศีรษะ ทำสลับไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้อาการขัดที่หัวไหล่บรรเทาลงได้
การประคบด้วยสมุนไพรก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรักษาอาการไหล่ขัดได้ โดยวิธีการประคบนั้นสามารถใช้ได้ทั้งแบบประคบร้อนและประคบเย็น แต่จะใช้ในอาการที่แตกต่างกันออกไป โดยการประคบเย็นนั้น ควรทำเมื่อมีอาการปวด บวมแดง หรือร้อนในบริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ลงได้ ส่วนการประคบร้อน ให้ทำในช่วงที่ไม่มีอาการบวมแดง ส่วนนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อค่อย ๆ ยืดหยุ่นขึ้น ลดการยึดติดของกล้ามเนื้อ ช่วยให้อาการเจ็บปวดตอนขยับไหล่บรรเทาลง นอกจากการประคบแล้วก็อย่าลืมพักผ่อนร่างกายอย่างเหมาะสมไม่ควรนอนน้อยและหักโหมใช้แขน เพราะอาการอาจแย่ลงอีก