การกินอาหารอร่อย ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คนเรามีความสุขมากขึ้น แต่บางทีถ้ากินในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือไปเจอกับอาหารที่ไม่สะอาด ไม่มีคุณภาพ หรือเก็บเอาไว้นาน ความสุขจากการได้กินของอร่อยก็อาจจะกลายเป็นฝันร้ายได้ เพราะอาการอาหารเป็นพิษที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากการกินอาหารนั้น เป็นอาการป่วยที่สร้างความทรมานให้กับใครหลายคนจริง ๆ ดังนั้น ควรจะรู้วิธีป้องกันและการดูแลตัวเองเมื่อเกิดโรคอาหารเป็นพิษขึ้น จะได้ลดอาการที่รุนแรงของโรคได้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารเป็นพิษ
เราสามารถสังเกตอาการของโรคอาหารเป็นพิษได้ โดยเริ่มต้นจะรู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียน รู้สึกปวดมวนในท้อง มีอาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อย อ่อนเพลีย ร่างกายสูญเสียน้ำหรือภาวะขาดน้ำ มีไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุด ไม่ควรปล่อยให้หายเอง เพราะมีโอกาสที่อาการจะรุนแรงขึ้นจนอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
โรคอาหารเป็นพิษนั้นเรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตที่มักจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน เพราะเป็นช่วงที่แบคทีเรียหรือเชื้อโรคต่าง ๆ สามารถเติบโตได้เร็ว ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนหรือบูดได้ง่าย เมื่อกินแบบไม่ระวังก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษนั้น จะเกิดเชื้อโรคหลายชนิดที่สามารถปล่อยสารพิษออกมาได้ เมื่อสารพิษเหล่านั้นเข้ามาปนเปื้อนกับอาหาร และถูกกินเข้าไปในร่างกาย อาการต่าง ๆ ของโรคก็จะค่อย ๆ แสดงออกมา แต่จะเป็นอาการที่เบาหรือรุนแรงก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ได้รับเข้าไปด้วย และเชื้อแต่ละตัวก็มีระยะฟักตัวที่ไม่เท่ากัน บางตัวอาจจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-8 ชั่วโมง แต่บางตัวอาจจะใช้เวลา 1-2 วัน
เมื่อเกิดอาการอาหารเป็นพิษขึ้น เราสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อท้องเสีย ก็ลองกินยาแก้ท้องเสีย ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป และควรดื่มเกลือแร่ร่วมด้วย เพราะการที่มีอาการท้องเสีย หรืออาเจียนมาก ๆ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงได้ เกลือแร่จะเป็นตัวช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำได้เป็นอย่างดี ถ้าอาการอาหารเป็นพิษไม่รุนแรงมากนัก การกินยาและดื่มเกลือแร่ทันทีก็สามารถช่วยบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ และอาจจะหายได้เองโดยที่ไม่ต้องไปหาหมอเลย
นอกจากนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะทำให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดโรคได้ เช่น อาหารรสจัด อาหารประเภทนม ของหมักดอง อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูจากอาการเจ็บป่วยได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ งดทำงานหนักหรือการออกกำลังกายไปก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียน้ำ
อาหารที่ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษควรกินมากที่สุดก็คืออาหารที่มีรสชาติอ่อน ๆ อย่าให้มีรสจัดจนเกินไป สามารถย่อยได้ง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ผักต้ม ต้มจืด กล้วย เป็นต้น ซึ่งอาหารทุกอย่างที่กินเข้าไป จะต้องผ่านการปรุงสุก และใช้วัตถุดิบที่สะอาด ป้องกันไม่ให้มีสิ่งเจือปนที่จะไปทำให้อาการของโรคอาหารเป็นพิษรุนแรงขึ้นได้ และต้องดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายสูญเสียน้ำไปเยอะ จึงต้องชดเชยให้ได้มากที่สุด
ถ้าเป็นโรคอาหารเป็นพิษที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เองได้ภายใน 1-2 วัน แต่ถ้ายังคงมีอาการอย่างต่อเนื่องมาเกิน 48 ชั่วโมง ก็จำเป็นจะต้องปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการและทำการรักษาเพิ่มเติม เพราะถ้าไม่ยอมไปรักษา ปล่อยให้อาการแย่ลงเรื่อย ๆ หรือมีอาการท้องเสียเรื้อรัง อาจจะส่งผลทำให้ร่างกายแย่ลงได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย เมื่อมีอาการที่เริ่มรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด
เมื่อเกิดอาการของโรคอาหารเป็นพิษแล้ว สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกเลยก็คือการกินยาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการของโรคก่อน ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องเสีย อาเจียน เวียนหัว คลื่นไส้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาการที่หลายบ้านมักจะมียาสามัญประจำบ้านติดเอาไว้อยู่แล้ว หรือถ้าไม่มี ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เมื่ออาการค่อย ๆ ดีขึ้นแล้ว ก็ต้องมาหาวิธีป้องกันกันต่อ เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นซ้ำ หรือเป็นอีกในอนาคต ซึ่งเราสามารถป้องกันได้โดยการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ได้ดังนี้