ท้องนอกมดลูก คือ ภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เกิดจากการที่ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ เข้าไปฝังตัวอยู่ที่บริเวณอื่นที่อยู่นอกมดลูก จึงทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ มักจะตรวจพบในช่วง 6-8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
สาว ๆ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ท้องนอกมดลูก” กันมาบ้าง เป็นอาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนต้องระวังไว้ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ เพราะเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้ ไปดูกันว่า ท้องนอกมดลูกคืออะไร อาการเป็นยังไง จะได้เตรียมรับมืออย่างปลอดภัยและทันถ่วงที
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการท้องนอกมดลูก
ท้องนอกมดลูก คือ ภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เกิดจากการที่ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ เข้าไปฝังตัวอยู่ที่บริเวณอื่นที่อยู่นอกมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ปากมดลูก หรือบริเวณอื่นๆในช่องท้อง จึงทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้
อาการของคนที่ท้องนอกมดลูก มักจะพบในช่วง 6-8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่
การตรวจท้องนอกมดลูก สามารถตรวจเจอได้ตั้งแต่ 6-8 สัปดาห์ หรือ ไม่ถึง 2 เดือนนั่นเอง
สามารถตรวจเจอได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ที่ คลินิกสูตินรีเวช โดยแพทย์จะทำการอัลตราซาวด์ช่องท้อง หรืออัลตราซาวด์ทางช่องคลอด เพื่อดูตำแหน่งของถุงการตั้งครรภ์ หากตรวจพบถุงการตั้งครรภ์อยู่นอกมดลูก ก็สันนิษฐานได้ว่าเป็นการท้องนอกมดลูกนั่นเอง
โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะนัดคุณแม่เพื่อทำการตรวจอัลตราซาวด์ครั้งแรกอยู่แล้วในช่วง 6-8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เพื่อดูการเจริญเติบโตของถุงการตั้งครรภ์ และหัวใจของทารก
ท้องนอกมดลูกเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิต เนื่องจากถุงตั้งครรภ์ที่ฝังตัวอยู่นอกมดลูกอาจแตกได้ เมื่อถุงการตั้งครรภ์แตก จะทำให้เลือดออกในช่องท้องอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้
ท้องนอกมดลูก เป็นภาวะที่ตัวอ่อนฝังตัวอยู่นอกโพรงมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ ดังนั้น ลูกจึงมีโอกาสรอดน้อยมาก ยกเว้นในกรณีที่ตัวอ่อนฝังตัวที่บริเวณรังไข่หรืออวัยวะภายในช่องท้องอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ท่อนำไข่ ซึ่งมีโอกาสรอดได้มากกว่า แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้
สิ่งที่อันตรายที่สุดในการท้องนอกมดลูกคือ ถุงตั้งครรภ์แตก ซึ่งจะทำให้มีเลือดออกในช่องท้องมากจนทำให้แม่มีภาวะช็อกจนอาจเสียชีวิตได้
ดังนั้น หากตรวจพบการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่คลินิกสูตินรีเวช แพทย์จะทำการยุติการตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัยของแม่ โดยสามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดและการรักษาด้วยยายับยั้งการเจริญเติบโตของถุงการตั้งครรภ์ ซึ่งวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและตำแหน่งที่ตัวอ่อนฝังตัว
หลังการรักษาอาการท้องนอกมดลูก คุณแม่ควรได้รับการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลการรักษาและเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูกซ้ำ หากต้องการมีบุตรอีกครั้ง แพทย์จะประเมินความเสี่ยงและแนะนำวิธีการตั้งครรภ์ที่เหมาะสมให้ได้