สังคัง เกิดจากการติดเชื้อรา ในกลุ่ม Dermatophyte จะมักเกิดขึ้นบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน บริเวณก้น และบริเวณที่มีความอับชื้น ส่วนใหญ่จะมักเกิดในกลุ่มผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า สามารถรักษาได้ด้วยตัวเองที่บ้านได้ด้วยยาทาจากร้านขายยาทั่วไปใกล้บ้าน
สังคัง อาการคันในร่มผ้า จากโรคผิวหนังยอดนิยม ปัญหาที่มากับอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย มีสาเหตุมาจากเชื้อรา มักเกิดขึ้นในเพศชาย สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ชายที่เหงื่อออกเยอะ นักกีฬา สังคัง โรคผิวหนังที่หลาย ๆ คนเป็นแล้วแต่อายจนไม่กล้าบอกใคร ไม่กล้ารักษา รู้ตัวอีกทีก็ลามไปเยอะมากเสียแล้ว
แต่รู้หรือไม่ สังคังเมื่อเป็นแล้ว ก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเองเพียงแค่รู้ตัวไว รวมถึงรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด แต่หลาย ๆ คนที่กำลังสงสัยว่า สังคัง คืออะไร เกิดจากอะไร หายเองได้มั้ย วันนี้ประชาพัฒน์ คลินิก มีคำตอบมาให้อย่างละเอียดแล้วค่ะ
สังคัง คืออะไร
สังคัง (Tinea Cruris) หรือบางคนอาจเรียกอีกอย่างว่าโรคกลาก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา ในกลุ่ม Dermatophyte จะมักเกิดขึ้นบริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน บริเวณก้น และบริเวณที่มีความอับชื้น มักลามไปยังบริเวณรอบ ๆ ได้เป็นวงกว้างถึงบริเวณหน้าท้อง หัวหน่าว
ซึ่งสังคังสามารถเกิดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่โดยส่วนใหญ่จะมักเกิดในกลุ่มผู้ชายมากกว่าถึง 3 เท่า และเกิดได้ค่อนข้างบ่อยกว่า เนื่องจากลักษณะปัจจัยทางกายภาพของเพศชาย ลักษณะอวัยวะเพศที่ติดกับขาหนีบ ทำให้เกิดความอับชื้นสูงกว่า เกิดการเสียดสีบ่อยกว่า จึงสามารถทำให้เกิดได้บ่อยกว่า
ผู้ที่เป็นสังคัง มีลักษณะเป็นรอยผื่นในบริเวณที่เกิดการติดเชื้อรา มีลักษณะเป็นวงกลมสีแดง ร่วมกับอาการคันตลอดเวลา อาจมีขุยเป็นสีขาวบริเวณรอบ ๆ และมีอาการแสบร้อนร่วมด้วยเนื่องจากการเกาจนผิวหนังเกิดการถลอก และอาการของโรคจะรุนแรงขึ้นหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิมอีกด้วย เช่น การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความอับชื่นอยู่ตลอดเวลา
สังคังเกิดจากสาเหตุใด
สังคัง หรือ Jock Itch หรือ Tinea Cruris มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Trichophyton spp. เชื้อราในกลุ่ม Dermatophyte เช่นเดียวกับโรคกลาก เป็นเชื้อที่มักอาศัยอยู่ในผิวหนังบริเวณต่าง ๆ รวมไปถึงเล็บ เส้นผม และเมื่อผิวหนังเกิดความอับชื้นสูงขึ้นบ่อย ๆ หรือบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชื่อราชนิดนี้ก็จะเจริญเติบโตขึ้นมา และยังสามารถลุกลามไปยังบริวเวณรอบข้างได้อีกด้วย
อาการของโรคสังคัง
อาการของโรคสังคัง หรืออาการคันในร่มผ้า จะเริ่มมาจากรอยผื่นแดงเป็นวงเล็ก ๆ หรือพระจันทร์เสี้ยว บางรายมีผิวที่ลอกเป็นขุย โดยบริเวณที่มักเป็นคือบริเวณขาหนีบด้านใน อวัยวะเพศ หรือจุดที่มีความอับชื่นสูง ทำให้เกิด เมื่อเริ่มมีรอยแดงจะตามมาด้วยอาการคันตลอดเวลา ในบางรายอาจเกิดอาการแสบร้อนร่วมด้วย เนื่องจากมีแผลจากเนื้อที่ถลอกจากการเกาอย่างหนัก และอาการจะรุนแรงมากขึ้นในรายที่ไม่ได้รับการรักษา หรือในคนที่ยังคงออกกำลังกายอย่างหนักและมีความอับชื้นมาก
พบมากในกลุ่มคนประเภทใด
โรคสังคัง สามารถพบได้ในกลุ่มเพศชาย ตั้งแต่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากเพศชายมีลักษณะทางกายภาพของเพศชายที่มีความแตกต่างจากเพศหญิง จึงทำให้เกิดความอับชื้น และเกิดการเสียดเสียได้สูงกว่า นอกจากเพศแล้วยังมีปัจจัยหลักอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เชื้อรา คือพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาชีพ เช่น
- การสวมใส่เสื้อผ้าซ้ำ ๆ โดยไม่ทำความสะอาด
- นักกีฬา หรือ ผู้ที่ต้องใช้แรงงานจนมีเหงื่ออกมากอยู่ตลอดเวลา จนเกิดการหมักหมมเป็นเวลานาน
- ผู้ชาย ตั้งแต่ในวัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่
- ผู้ที่มักไม่ใส่ใจในเรื่องการรักษาสุขอนามัยของร่างกาย ไม่ค่อยได้อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่โดยที่ไม่ทำความความสะอาดร่างกายให้สะอาดก่อน
- ผู้ที่มักชอบใส่เสื้อผ้ารัดรูปแน่น ๆ ทำให้เกิดความอับชื่น
- ผู้ที่มักใส่เสื้อผ้าซ้ำหลายครั้งโดยไม่ผ่านการทำความสะอาด
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคที่ทำให้เกิดเหงื่อหรือแรงเสียดทานมากกว่าคนปกติ เป็นต้น
การรักษาอาการสังคัง
การรักษาสังคัง ในบางรายที่มีการติดเชื้อเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง ไม่ได้ลุกลามไปมากนัก ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยตัวเองที่บ้านได้ด้วยยาทาจากร้านขายยาทั่วไปใกล้บ้าน นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่น ๆ ได้แก่
- ดูแลความสะอาดร่างกาย และดูแลบริเวณที่ติดเชื้อให้แห้งสนิทไม่ควรให้มีความอับชื้น
- ทายาต้านเชื้อรา ตามคำสั่งแพทย์หรือเภสัชกรอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี เนื้อผ้าควรมีความโปร่งสบาย ไม่รัดรูปกับตัวมากเกินไป
- หมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้า รวมถึงชุดชั้นในใหม่ที่สะอาดทุกครั้งทุกครั้ง เพื่อลดการติดเชื้อ และความอับชื้นที่เพิ่มขึ้น
- ในกรณีที่มีความรุนแรง หรือรักษาด้วยตนเองไม่ได้ผลเท่าที่ควรอาจต้องใช้ยารักษาชนิดกินร่วมด้วย เช่น ยาต้านเชื้อราอย่าง โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) หรือ ไมโคนาโซล (Miconazole) ร่วมกับยาลดอาการคัน รวมไปถึงใช้ยาทาชนิดครีมที่มีสเตียรอยด์ผสมด้วยเพื่อลดการคันและการอักเสบทาบริเวณที่ติดเชื้อวันละ 1-2 ครั้ง
ควรไปพบคุณหมอเมื่อไหร่
โดยทั่วไปแล้วสังคัง สามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง แต่หากรักษามาสักระยะ ร่วมกับดูแลพฤติกรรมอย่างเคร่งครัดแล้ว ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือลุกลามมากกว่าเดิมภายใน 2 สัปดาห์ ให้รีบปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยไวที่สุด เพื่อใ้ห้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที
ทั้งนี้การเกิดการติดเชื้อราบนผิวหนังควรรีบรักษาให้ได้ไวที่สุดเนื่องจากอาจต้องใช้เวลารักษาที่ค่อนข้างนาน ต่างจากไข้หวัดที่รักษาเพียงแค่วันเดียวได้ ดังนั้นหากรู้ตัวได้ไวก็รักษาได้ไวขึ้น ลดการลุกลาม ค่าใช้จ่ายไม่สูงอีกด้วย
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคสังคัง
โดยปกติแล้วภาวะแทรกซ้อนจากโรคสังคัง มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ค่อนข้างน้อยมาก แต่ก็ถือว่ายังมีโอกาสเกิดได้เช่นกัน โดยในบางราย ที่มีการเชื้อราตัวเชื้อจะแพร่กระจายไปยังวงกว้างในบริเวณใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นขาหนีบ ต้นขา หน้าท้อง อวัยวะเพศ แต่จะไม่ลามไปยังอัณฑะ ซึ่งจากการลุกลามของเชื้อเนื่องมากจากการเกานี้ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฝี หรือเนื้อเยื้อเกิดการอักเสบได้เช่นกัน
ในบางรายที่มีการเชื้อราอย่างสังคัง แต่ไม่ได้รับการรักษาและใช้ พฤติกรรมแบบเดิม จึงทำให้มีอาการคันอย่างรุนแรง ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่กระแสเลือดที่รุนแรงได้
เป็นสังคังอันตรายหรือไม่
สังคัง เป็นการติดเชื้อรา ทำให้คันในร่มผ้าอยู่บ่อยครั้ง เช่นเดียวกันกับโรคกลาก เกลื้อน โดยเชื้อเหล่านี้จะอาศัยอยู่ตาม เล็บ และเส้นผมของมนุษย์เป็นปกติ โดย จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่หากมีการติดเชื้อแล้วปล่อยประละเลย ไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องทันทีรวมไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมีการอับชื้นหรือเสียดสีเพิ่มขึ้น ก็อาจก่อ ให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การดูแลเอาใจใส่ความสะอาดของร่างกาย รวมไปถึงเสื้อผ้าที่สวมใส่ ดังนั้นเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ควรต้องใส่ใจความสะอาดมากขึ้นด้วยเช่นกัน
วิธีป้องกัน
- หมั่นทำความสะอาด และรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ โดยอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
- หากมีกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกเยอะกว่าปกติ ควรทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังเสร็จกิจกรรมเพื่อลดความอับชื้น
- สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่สวมเสื้อผ้ารัดแน่นจนเกินไป
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนูหรือของใช้ส่วนตัวรวมกับผู้อื่น
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดอยู่เสมอ และไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน
- ทำความสะอาดทำความสะอาดเสื้อผ้า รวมถึงชุดชั้นใน ให้สะอาดอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงการสร้างความอับชื้นให้กับผิวหนัง
- หากเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะควรลดน้ำหนักเพราะขาหนีบมีการอับชื้นได้ง่ายกว่า
วิธีรักษามีกี่วิธี
การรักษาเชื้อราที่ผิวหนังหรือสังคัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- การรักษาด้วยตนเอง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต มันดูแลความสะอาดอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณนั้น และสวมเสื้อผ้าให้โปร่งสบายเพื่อลดการเสียดสีกับผิว
- ยาทาภายนอก และยาที่ใช้ทาเฉพาะพื้นที่บริเวณที่ติดเชื้อ มีลักษณะเป็นเนื้อครีมต้านเชื้อรา เช่น
โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ไมโคนาโซล (Miconazole) คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) อีโคนาโซล (Econazole - การใช้ยาฆ่าเชื้อราแบบรับประทานชนิดเม็ด โดยต้องได้รับยา และอยู่ภายใต้การควบคุมจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น โดยใช้ตัวยา ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) และกริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin) โดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์และเภสัชกร
วิธีรักษารอยแผลเป็นจากสังคัง
การรักษารอยแผลเป็นจากสังคัง เนื่องจากเป็นรอยที่เกิดจากการเสียดสีทำให้มีการอักเสบของผิวหนังมาเรื้อรัง ดังนั้นเบื้องต้นคือการลดการเสียดสีในบริเวณนั้น ๆ และเมื่อรักษาการจนเชื้อหายสนิทแล้วมีการทิ้งรอยโรคไว้ สามารถใช้ยาชนิดครีมลดรอยดำทั่วไปตามร้านขายยาได้ อย่างเช่นตัวยากลุ่มวิตามินอี และวิตามินซี นอกจากนี้หากต้องการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ไวกว่านั้นก็สามารถใช้วิธี การเลเซอร์ (Laser) เพื่อกำจัดรอยโรคได้อีกด้วย
ทั้งนี้หลังจากการรักษารอยดำแล้ว อย่าเพิ่งชะล่าใจกลับไปใช้พฤติกรรมแบบเดิม เนื่องจากมีโอกาสที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเอง
ความแตกต่างระหว่างกลากเกลื้อนและสังคัง
กลาก เกลื้อน และสังคัง ทั้งหมดนี้ล้วนมีสาเหตุที่เกิดมาจากการเชื้อราทั้งหมด และสามารถใช้วิธีการรักษาแบบเดียวกันทั้งหมดได้ โดยในแต่ละชนิดมีความแต่งต่างดังนี้
กลาก (Tinea หรือ Dermatophytosis)
สามารถพบได้ในทุกเพศ และทุกช่วงอายุ โดยมีตำแหน่งที่มักเกิดต่างออกไปตามช่วงอายุ เช่น ในวัยเด็กพบมากที่สุดบริเวณศรีษะ และในวัยผู้ใหญ่มักจะพบบริเวณเท้ามากที่สุด จะมีลักษณะเป็น
สังคัง (Tinea Cruris)
เป็นการติดเชื้อชนิดเดียวกันกับกลาก (Tinea) แต่สังคังเป็นชื่อเรียกการติดเชื้อในเฉพาะตำแหน่ง ซึ่งในบริเวณที่ใช้เรียก คือ ขาหนีบ ก้น ขาเบียดหรือข้างขาด้านใน เช่นเดียวกับการติดเชื้อราบริเวณเท้า ก็จะเรียกเฉพาะตำแหน่งว่า โรคฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้านั้นเอง มีลักษณเป็นผื่นแดงกลม อาจมีขอบสีแดงเข้มกว่าด้านในหรือมีขุยสีขาวร่วมด้วย
เกลื้อน (Tinea Vesicolor)
เกิดจากการติดเชื้อรา Pityrosporum ซึ่งเป็นการติดเชื้อคนละตัวกับ กลาก และสังคัง โดยเชื้อชนิดนี้จะอาศัยอยู่ตามรูขุมขน และดำรงอยู่ได้ด้วยการกินไขมันจากในรูขุมขนเป็นอาหาร โดยมีลักษณะเป็นผื่นจุดลายดวง สีขาวหรือน้ำตาลอ่อน มีรูปร่างกลมเล็ก ๆ หลายขนาด ตั้งแต่ 4-5 มิลลิเมตร มักไม่มีอาการคัน
คำถามที่พบบ่อย
สังคัง สามารถติดกันได้จากการสัมผัสโดยตรงเลยบริเวณนั้น หรือผ่านสิ่งของที่ใช้ร่วมกันกับผู้ที่เป็นโรคสังคัง เช่น ผ้าเช็ดตัว และเสื้อผ้าที่สวมใส่
การรักษาให้มีประสิทธิภาพที่สุดคือการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงใช้ยาทาหรือยากินถูกต้อง จะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ก็จะหายไป
สังคัง สามารถลุกลามไปยังบริเวณอื่นไ้ด้เนื่องจากการแพร่กระจายจากการเกา โดยเริ่มกระจายเป็นวงกว้างขึ้นไปเรื่อย ๆ